วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

💥 ดอกไม้ (สายพันธุ์) บอกความหมายและความเชื่ออย่างไร 💥


       ดอกไม้ นอกจากจะสวยงาม เป็นสีสันของโลกใบนี้ ดอกไม้ยังสร้างความสดชื่นให้แก่ผู้พบเห็นทั้งรูปทรง และความหอมชื่นใจ นอกจากนี้แล้ว ดอกไม้ยังมีหลักเกณฑ์บางอย่าง และเหตุผลที่ชัดเจน บางอย่างเป็นเพียงความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้ การยึดถือเอาดอกไม้เป็นสื่อ เป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงกับความรัก ความสุข ความทุกข์ ความสูญเสีย และการพลัดพลาก เพราะชื่อของดอกไม้บ้าง ลักษณะของดอกไม้บ้าง เป็นธรรมเนียมความเชื่อที่อยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยมาโดยตลอด เรื่องของไม้มงคล และไม้ต้องห้ามนานาชนิด ยังสืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน
       ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรานำดอกไม้ไปให้คนอื่นในวันสำคัญ มักจะหนีไม่พ้นดอกกุหลาบกับดอกคาร์เนชั่น
ดอกกุหลาบแดง
โดยเฉพาะดอกกุหลาบที่มันบ่งบอกความตั้งใจบางอย่างในความรู้สึก แม้ความคิดของคนบางคนอาจจะมองว่ากุหลาบดูธรรมดามาก แต่แท้จริงแล้วดอกกุหลาบนั้นมีความหมายหรือความเชื่ออยู่ด้วย ส่วนความหมายของดอกไม้ก็จะแตกต่างกันไปตามสีและสายพันธุ์ อย่างดอกกุหลาบสีแดง ไม่ว่าจะเป็นสีแดงสดหรือสีแดงอ่อนก็ตาม สีแดงสดมักจะสื่อถึงการที่เราตกหลุมรักหรือแอบปลื้มใครซักคนอยู่นั้นเอง ส่วนสีแดงเข้มก็จะสื่อถึงความรักที่สุดแสนจะลึกซึ้ง  มั่นคงแบบไม่มีวันจืดจางไปจากหัวใจ บางคนอาจจะเลือกให้ดอกไม้ที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองในการค้า บางคนอาจจะปลูกดอกไม้ไว้ในรั้วบ้านตาม   โหงวเฮ้ง ปลูกพันธุ์ไหนก็ได้ที่ถูกโฉลกกับเราเพื่อเป็นมงคลเสริมของชีวิต อย่างปลูกดอกลั่นทมหรือที่เราเรียกว่า ดอกลีลาวดี คนไทยมีความเชื่อว่าจะไม่ปลูกไว้ในบ้าน แต่ถ้าเพื่อความสวยงามก็อาจจะปลูกไว้นอกรั้วบ้าน แต่คงไม่เอาเข้าบ้านแน่นอน 


💥 ดอกไม้ (สี) มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเราอย่างไร 💥



    บางครั้งคนเราอาจจะไม่ทันสังเกต หากแต่เมื่อเรามองไปรอบตัวก็จะเห็นได้ว่า คนเราถูกแวดล้อมไปด้วยสีสันต่างๆ มากมาย และในขณะเดียวกัน เราอาจจะไม่ทันรู้ตัวว่า สีแต่ละสีที่ล้อมรอบตัวเราอยู่นั้นต่างล้วนมีอิทธิพลไม่โดยตรงก็โดยอ้อมต่ออารมณ์ความรู้สึกของเรา อิทธิพลของสีกับความรู้สึกมีความละเอียดอ่อนมาก สีเป็นฉากของทุกสิ่งบนโลกใบนี้  สีของดอกไม้ สีสร้างบรรยากาศ สีดูแลและยกระดับจิตใจ สีสร้างสรรค์จิตนาการในธรรมชาติ สีเป็นกลไกสำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งในอาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์ หากถามว่าสีต่างๆของดอกไม้มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเราไหม 
    ขอยกตัวอย่างสีฟ้าของดอกไม้พยับหมอก และสีส้มของดอกกุหลาบพุกามเป็นตัวอย่าง ในวันที่ฟ้าหม่น ถ้าเรารู้สึกอย่างนั้น ก็ไม่ผิดอะไรที่เราจะปล่อยใจให้หม่นไปกับฟ้า และเราก็คงเลือกดอกพยับหมอกสีฟ้ามาประดับไว้ในแจกัน แล้วเหม่อมองฟ้าสีเทา แต่หากคุณอยากรู้สึกรื่นเริงใจในวันฟ้าหม่น การที่เราเอาสีส้มของดอกกุหลาบพุกามมาใส่แจกันแม้เพียงดอกเดียวก็สามารถทำให้เราไม่หม่นหมองใจไปกับฟ้าได้ และอีกนัยหนึ่งดอกไม้ก็เปรียบเสมือนตัวแทนของความรู้สึกของมนุษย์

💥 สีของดอกไม้กับอารมณ์ความรู้สึก 💥


ดอกทิวลิปสีแดง
❤ สีแดง ความร้อนแรง ความมีชีวิตชีวา 
และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง
ดอกปักษาสวรรค์สีส้ม 
❤ สีส้ม สนุกสนาน ร่าเริง เต็มไป
ด้วยชีวิตชีวา 









ดอกทานตะวัน
❤ สีเหลือง ความสว่างสดใส ให้กำลังใจ
เติมพลังชีวิต
ดอกกล้วยไม้เหลืองพาสเทล
❤ สีเหลืองพาสเทล สดชื่น นุ่มนวล และดูดึง
ดูดใจเป็นอย่างมาก






ดอกทิวลิปสีส้มพาสเทล
❤ สีส้มพาสเทล หวาน สดชื่น ทว่าเร้น
ไว้ซึ่งความอบอุ่น และพลัง
ดอกไฮเดรนเยียสีชมพูพาสเทล
❤ ชมพูพาสเทล อ่อนหวานและรู้สึก
ลึกซึ้งอย่างที่สุด

ดอกทิวลิปสีชมพูช็อคกิ้ง
❤ ชมพูช็อคกิ้ง สดใส ทันสมัย สะดุดตา
 สะดุดใจ และเปี่ยมไปด้วยพลัง
ดอกไฮเช่นกัน
❤ สีฟ้าคราม ความสงบ และสบาย
ดอกกล้วยไม้สีม่วงคราม
❤ สีม่วงคราม สงบนิ่ง หรูหรา 
และสง่างาม
ดอกสไปเดอร์ 
❤ สีเขียว  สงบ ผ่อนคลาย
และรักสงบ















ดอกกุหลาบขาว
❤ สีขาว สีแห่งความบริสุทธิ์  สะอาด
สว่าง สงบ
ดอกกล้วยไม้
❤ น้ำตาล สีของไม้และดินที่ให้ความมั่นคง 
อบอุ่น และเอื้ออาทรเสมอมา

























                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            

























💥 ดอกไม้แต่ละชนิดมีอายุการใช้งานนานเท่ากันหรือไม่ 💥


     ดอกไม้แต่ละชนิดเมื่อตัดออกมาจากต้นแล้วจะมีความสวย สด นานไม่เท่ากัน  โดยให้สังเกตที่กลีบของดอกไม้ ถ้าเป็นดอกไม้ที่มีกลีบหนาจะสามารถเก็บน้ำไว้ได้มากกว่าดอกไม้ที่มีกลีบบาง ทำให้ดอกไม้ที่มีกลีบหนาเหี่ยวเฉาช้า และคงความสดได้นานกว่าดอกไม้กลีบบาง ยกตัวอย่าง “ดอกคาร์เนชั่นกับดอกกุหลาบ”  ดอกคาร์เนชั่นจะมีกลีบบางซึ่งอยู่ได้ไม่นานเพราะว่าดอกคาร์เนชั่นจะกักเก็บน้ำได้น้อย ส่วนดอกกุหลาบจะอยู่ได้นานเพราะว่ากลีบดอกกุหลาบหนา สามารถกักเก็บน้ำได้เยอะ


ดอกกุหลาบ
ดอกคาร์เนชั่น



💥  
วิธีการดูแลดอกไม้ หลังจากนำมาจัดช่อหรือใส่แจกัน💥


     การดูแลดอกไม้ให้สวยสด มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่จะนำมาแนะนำในวันนี้ คือ วิธีแรกในกรณีที่เป็นช่อดอกไม้ให้ดึงดอกไม้ออกจากช่อแล้วนำใส่แจกันจะดีกว่าที่อยู่ในช่อ แล้วเปลี่ยนน้ำทุก 2 วัน ดอกไม้จะอยู่ได้นานกว่า เพราะดอกไม้จะดูดน้ำอยู่ตลอดเวลาพอน้ำหมดดอกไม้ก็จะเหี่ยว ซึ่งในช่อดอกไม้ก็จะมีน้ำอยู่เพียงจำกัดเท่าที่ร้านจัดช่อดอกไม้แต่ละร้านจะใส่น้ำหล่อเลี้ยงมาให้ในช่อเท่านั้น นอกจากบางคนที่อยากจะคงความเป็นช่อนั้นไว้ก็คือเป็นการเก็บดอกไม้แห้ง 
แล้วก็การดูแลดอกไม้ก็จะแตกต่างกัน 
       วิธีที่สองที่ช่วยให้ดอกไม้อยู่ในแจกันได้นาน คือ การตัดก้านดอกไม้ทุกๆ 2 วัน เพื่อที่จะเปิดปากใหม่ให้ก้านของดอกไม้เหมือนกับปาดก้านให้ดอกไม้ดูดน้ำใหม่และได้ในปริมาณที่มากขึ้น 
        และวิธีสุดท้าย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยยืดอายุดอกไม้ให้อยู่นานขึ้นคือ การทำให้น้ำดูสะอาดตลอดอยู่ตลอดเวลาโดยหยดไฮเตอร์ซักผ้าขาวลงในน้ำที่อยู่ในแจกันเพียง 1-2 หยด เพื่อเป็นการฟอกน้ำให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา แต่คนส่วนมากจะเอาน้ำตาลหรือเอาพาราไปใส่ในแจกันซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะอาจจะทำให้ดอกไม้เหี่ยวเร็วกว่าปกติ

💥 การเลือกใช้ช่อดอกไม้ในโอกาสต่างๆ 💥


    ถ้าให้ช่อดอกไม้เนื่องในโอกาสเกี่ยวกับความรักหรือวันครบรอบก็จะเป็นช่อ Bouquet แต่ถ้าหากเป็นเนื่องในโอกาสการแสดงความยินดีก็จะเป็นช่อดอกไม้แบบช่อยาว ที่ทำให้ผู้รับรู้สึกว่าเรามาแสดงความยินดี
ช่อ Bouquet
ช่อยาว



💥 ความหมายของดอกไม้ที่ใช้ในการทำช่อ Bouquet 💥


💫 ดอกไลเซนทัส หมายถึง มิตรภาพที่ยั่งยืน
💫 ดอกอัลสโตมีเรีย หมายถึง ความมั่งคั่ง ความเจริญ โชคลาภ
💫 ดอกยิปซี หมายถึง ความบริสุทธิ์ จริงใจ อ่อนหวาน และรักแรกพบ
💫 กุหลาบพวงชมพูและกุหลาบพิ้งค์ หมายถึง ความรัก ความโรแมนติกที่หวานซึ้ง

💥 ขั้นตอนการทำช่อ Bouquet 💥

  1. เตรียมดอกไม้และอุปกรณ์ทำช่อดอกไม้
  2. เริ่มจากนำดอกไม้หลักก่อนเราใช้กุหลาบเป็นดอกไม้หลักแล้ว ตามด้วยดอกไม้แซม ดอกไลเซนทัส ดอกกุหลาบพวง ดอกอัลสโตรมีเรีย และดอกยิปซี
  3. จับช่อให้มีลักษณะกลมแน่น
  4. หลังจากนั้นนำสก๊อตเทปติดก้านลวบให้เป็นช่อแล้วตัดก้านให้เท่ากัน ตัดก้านด้วยความยาวของก้านให้เหมาะสมกับช่อดอกไม้
  5. จากนั้นนำสำลีมาพันก้าน แล้วนำถุงพลาสติกมาสวมไปที่ก้านเพื่อที่จะใส่น้ำหล่อเลี้ยงช่อดอกไม้
  6. นำสก๊อตเทปรัดติดถุงพลาสติกให้แน่น
  7. การหอช่อจะมีหลายวิธีแต่วิธีที่เราเลือกคือการนำริบบิ้นมาพันช่อแทนกระดาษ พันริบบิ้นให้ปิดกั้นจนไม่ให้เห็นก้าน
  8. จากนั้นนำริบบิ้นที่สีต่างกันมาทำลวดลายที่ก้านช่อดอกไม้ให้สวยงาม และนำผ้าลูกไม้มาทำโบว์แทนริบบิ้น





💥 สรุปแล้วการให้ดอกไม้เป็นความเชื่อ หรือ แค่อารมณ์ความรู้สึก 💥


  ปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่ด้วยความเชื่อ ดอกไม้ความงามที่ไม่เพียงสัมผัสได้ด้วยตา แต่จมูกก็ยังสัมผัสได้ถึงกลิ่นอันแสนธรรมชาติอันมหัศจรรย์ ด้วยรูปทรงและกลิ่นของดอกไม้แต่ละชนิด แต่ละสีสัน ต่างมีเสน่ห์ มีความหมายเป็นของตัวเอง ดอกไม้บางชนิดทำหน้าที่เสมือนของถวายอันสูงค่าแด่เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตาม"ความเชื่อ" และดอกไม้บางชนิดทำหน้าที่เสมือนเป็นสัญลักษณ์แทน"ความรู้สึก" เช่น รัก เศร้า เหงา  ร่าเริง ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าการให้ดอกไม้เป็นทั้งความเชื่อและอารมณ์ความรู้สึกที่มาคู่กันจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ การให้ดอกไม้แต่แต่ละชนิดก็ให้ตามสถานการณ์และเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งานศพ งานรื่นเริง ในโอกาสแสดงความยินดีเมื่อประสบความสำเร็จ และวันสำคัญอื่นๆอีกมายที่ใช้ดอกไม้แทนความรู้สึกและสื่อความหมาย ทั้งนี้ดอกไม้สามารถเปลี่ยนแปลงอารมณ์ความรู้สึกของคนได้ สามารถบ่งบอกความเป็นตัวตนของคนได้ และการที่เราชอบดอกอะไร สีอะไรก็สามารถบ่งบอกตัวตนของเราได้เช่นกัน



















 สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความนี้ โดย จักรกฤษษณ์ มีมุสิก อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนต์

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons Licence: CC) 

    สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons Licence: CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งพัฒนาโดย Hewlett Foundation study ประกาศใช้เมื่อ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรองค์กรหนึ่งที่เน้นงานด้านกฏหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2001 โดยเป็นลักษณะของการคุ้มครองเพียงบางส่วน ( Some rights Reserved) คือ การให้บุคคลอื่นกระทำบางอย่างกับผลงานของเราได้


      ยกตัวอย่างเช่น การทำสำเนา การดัดแปลง เผยแพร่ และต่อยอดผลงานภายใต้ขอบเขตเงื่อนไขของลิขสิทธิ์


   สัญลักษณ์เงื่อนไขเป็น 4 ประเภท ซึ่งเครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย ได้ถอดความและนำสัญลักษณ์ 4 เงื่อนไขนั้นมาอธิบายไว้ดังนี้


แสดงที่มา/อ้างที่มา (Attribution – BY) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าว และสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าว ได้เฉพาะกรณีที่ผู้นั้นได้แสดงเครดิตของผู้เขียนหรือผู้ให้อนุญาตตามที่ระบุไว้ ใช้สัญลักษณ์

ไม่ใช้เพื่อการค้า (NonCommercial – NC) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าว และสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าว ได้เฉพาะกรณีที่ไม่นำไปใช้ในทางการค้า ใช้สัญลักษณ์

ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works –ND) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าวในรูปแบบที่ไม่ถูกดัดแปลงเท่านั้น ใช้สัญลักษณ์

อนุญาตแบบเดียวกัน (Share Alike – SA) : อนุญาตให้ผู้อื่นแจกจ่ายงานดัดแปลง เปลี่ยนรูปหรือต่อเติมงานได้เฉพาะกรณีที่ชิ้นงานดัดแปลงนั้นเผยแพร่ด้วยสัญญาอนุญาตที่เหมือนกันทุกประการกับงานต้นฉบับ หรือสรุปง่ายๆ ว่าต้องใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันกับงานดัดแปลงต่อยอดใช้สัญลักษณ์


ความหมายของอนุสัญญาบทความนี้

Attribution CC- BY – NC -ND ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า





สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความนี้ โดย จักรกฤษษณ์ มีมุสิก อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

แนะนำตัวผู้เขียน

ชื่อ        นายจักรกฤษณ์ มีมุสิก
รหัส       5802384
วิชา       เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานสื่อสารมวลชน
รหัสวิชา  COM226

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องของความเชื่อ อารมณ์ และความรู้สึกของดอกไม้ อิทธิพลของสีของดอกไม้ที่มีต่อความรู้สึก เทคนิคดูแลดอกไม้ให้มีอายุอยู่นานเมื่อนำมาจัดช่อความแตกต่างของการให้ช่อดอกไม้ในแต่ละโอกาสสำคัญ รวมไปถึงวิธีการจัดช่อดอกไม้แบบ Bouquet